วันวานยังหวานอยู่

จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม

ฟรี Counter

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


e-Book

กว่าจะมาเป็น e-Book
ความหมายของ e-Book
       “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
       คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
       หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ     ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing)
รูปแบบของหนังอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT)
หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

นวัตกรรมการสอนแบบ Flash

    ความหมาย
    แฟล็ช (Flash หรือ Macromedia Flash) คือ แฟ้มที่มีนามสกุล swf(Shock Wave Flash)
     เป็น Multimedia file ที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้แบบ
    Interactive ด้วยภาพ และเสียง เดิมมีเพียงโปรแกรมจากค่าย Macromedia เท่านั้นที่
    ใช้สร้างแฟ้ม swf ปัจจุบันนักพัฒนาได้สร้างโปรแกรม เพื่อใช้สร้าง swf อย่างง่าย
    และโปรแกรมหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ Swish ใช้งานได้ง่าย แม้จะไม่มีสมบูรณ์เท่า
    Macromedia Flash แต่ก็ใช้สร้างแฟ้ม swf ได้ดีเป็นที่น่าพอใจ เช่น การใส่ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการใส่ action อย่างง่าย
    บทเรียนที่ 1.5 :: การใช้ Previous และ Next เพื่อทำ presentation
    Powerpoint มีความสามารถในการนำเสนอแบบ Previous และ Next
    สำหรับตัวอย่างนี้เป็นการสร้าง Action เพื่อควบคุมการนำเสนอ ให้เป็นไป
    ตามต้องการ
    ขั้นตอนการสร้าง
  1. เปิดโปรแกรม Swish แล้วเลือก New
  2. กำหนดขนาดของงานให้เท่ากับ 100 Pixels * 80 Pixels
  3. เลือก Insert, Text เข้าไป 6 Object
  4. คำว่า Next ให้กำหนด Action เป็น Goto frame, next
  5. คำว่า Previous ให้กำหนด Place ใน frame ที่ 2 และให้ Action เป็น Goto frame, previous
  6. Insert text และเพิ่ม effect เข้าไป 2 effects
  7. สำหรับ 4 Objects ที่เหลือ ให้ใช้ Place และ Remove ควบคุมการแสดงผล ใน frame ที่ต้องการ
  8. ผลการทดสอบ จะเห็นคำว่า Previous และ Next สำหรับเลื่อนหน้าแสดงผล
  9. ตัวอย่าง Timeline ของบทเรียนนี้

http://www.caistudio.info/cai/techno/animation/FlashAnt.html

เอกสารประกอบการสอน

หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรืออุปกรณ์ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของ มหาวิทยาลัยมีเนื้อหาสาระคำสอน ที่มีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน ...

เอกสารประกอบการสอน

  

บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเสนอความรู้ให้ผู้เรียนเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบพร้อมเฉลย คำตอบของผู้เรียนนั้น ถูกหรือผิด แต่ละลำดับขั้นเรียบกว่า กรอบ หรือ เฟรม โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้น
2. ผู้เรียนทราบผลการเรียนทันทีที่แสดงพฤติกรรมตามคำสั่ง
3. ผู้เรียนได้พบกับความสำเร็จด้วยตนเอง
4. แบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ เรียงจากง่ายไปหายาก
ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง มีลักษณะ ดังนี้
1.1 มีข้อความเป็นหน่อยหรือกรอบย่อย ๆ เฉลี่ยแล้วมีความยาวประมาณ 2 ประโยค
1.2 ให้นักเรียนตอบด้วยคำตอบสั้น ๆ ซึ่งจะมีเฉลยคำตอบในกรอบถัดไป
1.3 เสนอความรู้เป็นขั้นสั้น ๆ จากง่ายไปหายาก
1.4 เสนอความรู้เรียงตามลำดับต่อเนื่องกันไปตั้งแต่กรอบแรก จนจบ
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเสขา หรือบทเรียนสำเร็จรูปแบบเลือกตอบ เพราะผู้เรียนต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่มีให้หลายอัน ตัวบทเรียนมักทำเป็นสาขาแตกแขนงออกไปตามลักษณะคำตอบของนักเรียน นักเรียนทำถูกจึงจะได้รับอนุญาตให้เรียนข้อต่อไป ถ้าทำผิดจะต้องเรียนข้อนั้นจนทำให้ถูกต้อง ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา คือมีคำอธิบายว่า “ทำไม” คำตอบของผู้เรียนจึงถูก หรือเพราะ เหตุไรจึงผิด บทเรียนจะดำเนินไปเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบของนักเรียน ถ้าผิดก็จะได้รับคำอธิบายเพิ่มเติม ถ้าทำได้ถูกต้องก็จะเรียนบทเรียนอื่น ๆ ต่อไป
หลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
1.ควรทำให้บทเรียนมีเนื้อหาสาระมีคุณค่าต่อการเรียน เลือกเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและทันสมัย
2. ควรให้นักเรียนมองเห็นข้อแตกต่างและนำความรู้ที่ได้ไปขยายและใช้ประโยชน์
3.ควรทำบทเรียนให้น่าสนใจ
4. ควรนำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข
โดยคำนึงถึงนักเรียน สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ เนื้อหาวิชา วิธีสอน ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
ข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูป
1. นักเรียนมีโอกาสได้เรียนด้วยตนเองและสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ช่วยให้ครูทำงานน้อยลง พูดน้อยลง มีเวลาเตรียมบทเรียนต่อไป
3. แก้ปัญหาการขาดแคลนครู
4. แก้ปัญหานักเรียนเรียนช้า แต่ถูกเพื่อน ๆ เยาะเย้ยเมื่อตอบผิด
ข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูป
นักเรียนต้องซื่อสัตย์ ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ถ้าไม่ซื่อสัตย์ จะไม่ได้ผลอีกทั้งไม่ส่งเสริมคุณธรรมที่ดี
3.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน)บทเรียนสำเร็จรูปนี้สำหรับให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง3 ส่วน ได้แก่1 เนื้อหา2 แบบฝึก3 เฉลยคำตอบ  นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์และมีวินัยในตนเองไม่ดูเฉลยก่อนตอบนักเรียนศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อจะได้ทราบว่าเมื่อนักเรียนทำ นักเรียนศึกษาบทเรียนให้เข้าใจ คิดและทำแบบฝึกไปทีละแบบฝึก5 คะแนน ถ้าคำตอบของนักเรียนไม่ตรงกับที่เฉลยต้องย้อนกลับไปศึกษา นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน)
กิจกรรมครบแล้วนักเรียนจะได้รับความรู้เรื่องใดบ้าง
 http://www.suntisuk.ac.th/images/page/file/0706101054RJZ8Y2.PDF

5. ตามลำดับลงในสมุด ก่อนที่จะตรวจสอบกับเฉลยคำตอบที่ ให้ไว้แบบฝึกแต่ละกรอบให้คะแนน
6. ข้อความข้างต้นใหม่แล้วตอบปัญหาที่ค้างไว้จนกว่าจะถูกต้องจึงจะศึกษากรอบต่อไป
7. ขอให้นักเรียนปฏิบัติตามคำแนะนำ และจงประสบความสำเร็จ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

e-Learning

e-Learning คืออะไร ::

          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เน็ต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ได้

 

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

นวัตกรรม
นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

            ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ "อัล" กอร์ จูเนียร์ (Albert Arnold "Al" Gore Jr.)¹ นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากการกระทำมนุษย์ ทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการอุปโภค บริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้นเพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อี­กต่อไป
หากมนุษยชาติบนโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้ เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรมและรูปแบบของชีวิตที่ตนพึงพอใจเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนและเพื่อสร้างสังคมที่ดีงามการพัฒนาทางการศึก ษา ที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ
              “การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน” หมายถึง “การพัฒนาที่ตอบ สนอง ความต้องการของคน เน้นความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและธรรมชาติ ยั่งยืน คงอยู่ได้เป็นเวลานานตลอดชีวิตหรือหลายชั่วอายุคนที่จะให้มวลมนุษยชาติ ในโลกได้มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้เรียนรู้ค่านิยมมีพฤติกรรม และรูปแบบของชีวิตที่พึงพอใจ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและสร้าง สังคม ที่ดีงาม จึงพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนตามวิธีการของ Le .Methodดังนี้
Le .Method นวัตกรรมทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
             1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเองโดย
·        โรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เตรียมความพร้อมทุกด้าน
·        ทุกหน่วยงานในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศ­ึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
¹http://nobelprize.org/nobel_prizes/peace/laureates/2007/index.html
http://ww.unescobkk.org/index.php?id=6600
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/longlife.html
·   การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ในลักษณะของการบูรณาการ สอดคล้องกับวิถีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
·   หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องครอบคลุมบทบาทของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย
·        การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยจะต้องเกื้อกูลกัน ทุกคนมีโอกาสศึกษา หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
           2. ความเสมอภาค (equality) ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน     คือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ความสมานฉันท์  หรือการร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา  เสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  จึงต้องมีขอบเขตในการที่จะไม่ก้าวล้ำ  ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น  มีโอกาสที่จะใช้เสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน
สรุป
       คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลก  คนเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของโลก แต่คนจะมีคุณค่ายิ่ง หากรู้จักประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนคือการที่ทุกคน มีโอกาส ได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพ และเรียนรู้ค่านิยม วิถีปฏิบัติ และ แนวการดำรงชีวิต ที่จำเป็น ต่ออนาคตที่ยั่งยืน และ การเปลี่ยน แปลงทางสังคมที่ดี การศึกษาคือทางออกสำหรับทุกๆด้านที่มีปัญหา ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยการศึกษา การปลูกฝังด้านต่างๆ ก็อยู่ที่การศึกษาเพราะการศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการเรียนรู้และพัฒนาที่ยั่งยืน

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

E-media

  ลักษณะของนวัตกรรม E-media คือมีหลากหลายรูปแบบแต่ที่เด่นๆ นั้น E-media สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองคล้ายๆกับ E-leanning แต่ E-media จะโดดเด่นกว่าในรูปของภาพมโนทัศ เห็นได้ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน และหลายกหลายกว่า ยกตัวอย่างเช่นด้าน flashmedia เป็นการนำ softwareflash มาจัดการสร้างเป็น วัตกรรมการเรียนการสอนได้ หรือแม้กระทั่ง software อื่นๆ อีกมากมายหลายรูปแบบก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นลักษณะของ E-media จึงเป็นได้ทั้งออนไลและออฟไลท์ก็ได้ ออฟไลท์ก็เช่นครูผู้สอนสร้างเองแล้วนำมาจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อนักเรียนแล้วนำไปเผยแพร่ลงเวปไซท์ต่อไปก็ใด้เพราะฉะนั้นผู้เขียนบันทึกจึงบอกว่ามีหลายกหลายรูปแบบ

แหล่งอ้างอิง  http://learners.in.th/blog/kunthida-nu-som/447074
ตัวอย่าง E-media เรื่อง วิวัฒนาการสัตว์และพืช
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/150charles-darwin/

เทคโนโลยีการศึกษา Me Style Studio 1